ข่าวกิจกรรม

ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยรังสิต

scirmutp-mou-ru

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีวัตถุประสงค์ว่าด้วย “วิจัยและวิชาการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฟื่องฟ้า เมฆเกรียงไกร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และดร.ไพศาล การถาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ รองศาสตรจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ภิรมย์ ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เมื่อวันอังคารที่ 6 กันยายน 2559

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีพันธกิจหลักในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นวิชาชีพบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถสร้างบัณฑิตพร้อมเข้าสู่อาชีพ สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิต ภาคบริการ และชุมชน ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อการสร้างอาชีพอิสระและการพัฒนาอาชีพโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม

คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ในทุกระดับในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาบุคคลที่มีความพร้อมทั้งด้านประสบการณ์ ทักษะทางกระบวนการเรียนรู้ และความรู้ทางเนื้อหาวิชาอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อเป็นแกนนำในการถ่ายทอดกระบวนการเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้คนไทยมีศักยภาพในการเรียนรู้ในทุกระดับและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือ : “เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยและการเรียนรู้”
ระยะเวลาการดำเนินงาน : ความร่วมมือในการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงนี้ มีระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ 5 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนตุลาคม 2564
ขอบเขตการดำเนินงาน :
1) ด้านการวิจัย
1.1) พัฒนาอาจารย์และนักศึกษาให้มีศักยภาพในการทำวิจัย และพัฒนางานวิจัยฐานนักปฏิบัติ
1.2) พัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
1.3) เป็นแหล่งทรัพยากรทางการวิจัย เช่น แหล่งวิจัย ทุนวิจัย ศูนย์เครื่องมือ
1.4) เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ
1.5) ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมทางวิชาการ
2) ด้านการเรียนการสอน
2.1) พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
2.2) เป็นแหล่งศึกษาดูงานและเปิดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษา
2.3) เป็นแหล่งศึกษาต่อของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน
2.4) ให้ทุนการศึกษาหรือทุนในลักษณะอื่นแก่ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์ ที่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

Loading