บันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด และศูนย์บ่มเพาะด้านนวัตกรรม

รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นประธานลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)   ระหว่างบริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด  โดยมีดร.ธนกฤต อัศวลงกรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทย แอร์โรสเปซ อินดัสทรีส์ จำกัด เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการเดินหน้าขับเคลื่อนช่วยพัฒนาภาคการศึกษา โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษา รวมถึงระดับอนุปริญญาให้มีความสามารถในการผลิตบุคลากรป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการบิน  และนอกจากนี้ มีการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) กับนายณัฐชรัตน์ กฤตธน ประธานกรรมการศูนย์บ่มเพาะด้านนวัตกรรม เชียงใหม่ (Innovation Incubation Center : ศูนย์ IIC) และดร.สายฝน ชัยรุ่งเรือง กรรมการบริหาร Capital Trust Group Limited (CTG) ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะด้านนวัตกรรม – วิสาหกิจเริ่มต้น (Start Up) และส่งเสริมเทคโนโลยีการเงิน เพื่อพัฒนาศักยภาพงานวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ อีกทั้งยังร่วมกันทำหลักสูตรเกี่ยวกับกลุ่มอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ดิจิทัลและกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของประเทศ(First S-Curve และ New S-Curve) รองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

วันที่      17  สิงหาคม 2561
สถานที่   
ณ ห้องประชุมมงคลอาภา ชั้น 2 ศูนย์พณิชยการพระนคร

[/su_tabs] Cambodia Professional Organization (CPO) Kingdom of Cambodia

รศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นประธานลงนาม บันทึกความเข้าใจด้านวิชาการ (MOU) ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ Cambodia Professional Organization (CPO) Kingdom of Cambodia ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องการศึกษาในราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมี ดร.ดารา ศาสน์ ตำแหน่ง Board of Director CPO ราชาอาณาจักรกัมพูชา, ดร.Kim Leng Heng ตำแหน่ง Advisor to the BoD CPO, ท่านผู้หญิง This Nay รองผู้ว่าจังหวัดกระเจส ราชอาณาจักรกัมพูชา, ท่านผู้หญิง Sokin PRAK รองอธิบดีกระทรวงไปรษณีย์ ราชอาณาจักรกัมพูชา, พลเอกสมชาย ธนะรัชต์ ประธานกรรมการ เทอิโกกุ รีเสิร์ช (ไทยแลนด์) จำกัด และทีมงาน เพื่อร่วมกันพัฒนาด้านวิชาการ ด้านการวิจัยและพัฒนา และอื่นๆ อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโลยี บริการวิชาการ การจัดอบรม การพัฒนาหลักสูตร การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาสู่การเป็นทวิภาคีด้านวิชการระหว่างสถาบัน รวมถึงการพัฒนาการเป็น ASEAN Education Network ในอนาคต

วันที่ : วันที่ 9 มีนาคม 2561
สถานที่ : ณ ห้องประชุมรพีพัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์)

[/su_tab] [/su_tabs] คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต
หน่วยงานความร่วมมือวัตถุประสงค์ของความร่วมมือระยะเวลาการดำเนินงานกิจกรรมประมวลภาพ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิตscirmutp-mou-sci-ru

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดยมีวัตถุประสงค์ว่าด้วย “วิจัยและวิชาการ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เฟื่องฟ้า เมฆเกรียงไกร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และดร.ไพศาล การถาง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นเรฏฐ์ พันธราธร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และ รองศาสตรจารย์นันทชัย ทองแป้น คณบดีคณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มีพันธกิจหลักในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นวิชาชีพบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถสร้างบัณฑิตพร้อมเข้าสู่อาชีพ สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม เพื่อถ่ายทอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ภาคการผลิต ภาคบริการ และชุมชน ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อการสร้างอาชีพอิสระและการพัฒนาอาชีพโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม

คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้ในทุกระดับในด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยี โดยใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาบุคคลที่มีความพร้อมทั้งด้านประสบการณ์ ทักษะทางกระบวนการเรียนรู้ และความรู้ทางเนื้อหาวิชาอย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อเป็นแกนนำในการถ่ายทอดกระบวนการเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างชาญฉลาด ตอบสนองนโยบายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยสนับสนุนให้คนไทยมีศักยภาพในการเรียนรู้ในทุกระดับและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านต่อ

วันที่ : วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2559
สถานที่ : ณ ห้องประชุมราชพฤกษ์ภิรมย์ ชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการวิจัยและวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพงานวิจัยและการเรียนรู้
ขอบเขตการดำเนินงานด้านการวิจัย
  • พัฒนาอาจารย์และนักศึกษาให้มีศักยภาพในการทำวิจัย และพัฒนางานวิจัยฐานนักปฏิบัติ
  • พัฒนาอาจารย์ให้มีศักยภาพในการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ
  • เป็นแหล่งทรัพยากรทางการวิจัย เช่น แหล่งวิจัย ทุนวิจัย ศูนย์เครื่องมือ
  • เป็นแหล่งถ่ายทอดเทคโนโลยีและบริการวิชาการ
  • ร่วมเป็นเจ้าภาพในการประชุมทางวิชาการ
ขอบเขตการดำเนินงานด้านการสอน
  • พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้
  • เป็นแหล่งศึกษาดูงานและเปิดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษา
  • เป็นแหล่งศึกษาต่อของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน
  • ให้ทุนการศึกษาหรือทุนในลักษณะอื่นแก่ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และคณาจารย์ ที่ประสงค์จะศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
ความร่วมมือในการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงนี้ มีระยะเวลาดำเนินงานตามโครงการ 5 ปี เริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 ถึงเดือนตุลาคม 2564
Department of Electronic and Information Engineering The Hong Kong Polytechnic University

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Loading