ระดับขั้นความสามารถของบลูม (Bloom’s Taxonomy)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
ปรับปรุงล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2565

 

Bloom’s Taxonomy

Benjamin Samuel Bloom

บลูม (Benjamin Samuel Bloom) นักการศึกษาชาวอเมริกันที่เชื่อว่า

"การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐาน"

กล่าวถึงการจำแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม หรือเรียกว่า ระดับขั้นความสามารถของบลูม (Bloom’s Taxonomy) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านจิตพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจำแนกระดับความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น

  1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน นอกจากนี้ยังนำเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจำ (Remembering) การเข้าใจ(Understanding) การประยุกต์ใช้ (Applying) การวิเคราะห์ (Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
  2. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) จำแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การสร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม
  3. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) จำแนกเป็น ทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อม ๆ กัน, ทักษะการสื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด

Bloom’s Taxonomy

พุทธพิสัย (Cognitive Domain, Thinking)

"พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา" โดยอาศัย ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้  และแบ่งพฤติกรรมที่เกี่ยวกับสติปัญญา (Cognitive Domain) ออกเป็น 6 ระดับตามความซับซ้อน ได้แก่

  1. การจดจำ (Remembering)  การใช้ความจำเพื่อสร้างหรือค้นหานิยาม ข้อเท็จจริง หรือทบทวนข้อมูลที่เรียนมาก่อนหน้า ซึ่งการที่ผู้เรียนจะสามารถตอบได้ว่าสิ่งที่เรียนคือสิ่งใด มาจากไหน นั้นเกิดจากการจดจำ ดังนั้น ความรู้ที่เกิดจากความจำ (Knowledge) เป็นความสามารถของสมองในการระลึกได้ จำความรู้ สารสนเทศ แสดงรายการได้ ระบุบอกชื่อได้ ซึ่งเป็นความจำระยะยาว
  2. การทำความเข้าใจ (Understanding) สร้างเข้าใจความสัมพันธ์ ความหมายของสิ่งที่ได้เรียนจากองค์ความรู้หลากหลายรูปแบบ อาจเป็นข้อความ ภาพ หรือกิจกรรม เช่น การสื่อสาร การแปลความ การยกตัวอย่าง การจำแนก การสรุป  สู่การนำเสนอหรือสามารถอธิบายตามความเข้าใจของตัวเองได้ ดังนั้น ความเข้าใจ (Comprehend) เป็นความสามารถของสมองในการแปลความหมายยกตัวอย่าง สรุป อ้างอิง การศึกษาของตัวเอง
  3. การประยุกต์ใช้ (Applying) ผู้เรียนสามารถใช้เนื้อหา ความรู้ที่เรียนมาไปใช้เป็นกระบวนการที่ได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดในสถานการณ์ใหม่ หรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันเพื่อนำไปปฏิบัติ และใช้ในการแก้ปัญหาได้ เช่น  รูปแบบการนำเสนอผลงาน
  4. การวิเคราะห์ (Analyzing)    ความสามารถในการแยกแยะข้อมูล ที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาคิดอย่างลึกซึ้ง รวมทั้งหาความสัมพันธ์ เชื่อมโยงเเละเหตุผลได้ สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้  การแยกความรู้ออกเป็นส่วน ๆ โดยสามารถให้เหตุผลว่าความรู้ส่วนย่อยที่แยกแต่ละส่วน มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของความรู้ทั้งหมดอย่างไร
  5. การประเมิน (Evaluating)  การที่ผู้เรียนสามารถใช้ความสามารถของสติปัญญาเกี่ยวกับการตรวจสอบ ควบคุม ทดสอบ เพื่อค้นหาความไม่สอดคล้องหรือความขัดแย้งในกระบวนการ หรือผลผลิตการวิพากษ์ต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ การตั้งเกณฑ์ตัดสิน เปรียบเทียบคุณภาพหรือประสิทธิภาพของการเรียนรู้ได้  สามารถตัดสินใจตรวจสอบ
    และไตร่ตรองคุณค่าของข้อมูลได้
  6. การสร้างสรรค์ (Creating)  ความสามารถในสติปัญญาในการสร้างสิ่งใหม่ จากลิ่งที่เคยเรียนรู้ หรือพบเห็นในบริบทต่าง ๆ ที่สามารถในการสร้างสรรค์งานวางแผนงาน และดำเนินตามกระบวนการจนได้รับความสำเร็จ เป็นการนำเอาความรู้ที่มีอยู่มาเชื่อมโยง และจัดระบบใหม่ให้เป็นสิ่งที่สมบูรณ์

Bloom’s Taxonomy : Cognitive Domain

 

Levels Other verbs Description A sample action verbs
Remembering 1 Exhibit memory of previously leared malcrial by recalling facts, terms, basic concepts,and answers. recognize, choose, identify, select, match,
label, name, read, quote, recite, state, reproduce, outlinc, recall, repeat, locate,
define
Understanding 2 Construct meaning from instructional messages, including oral, written. and graphic communication by organizing of facts and ideas comparing, translating, interpreting, giving descriptions,and stating main ideas. classify, explain, select, tell, illustrate, express, give example, show, categorize, paraphrase, defend, interpret, distinguish, interrelate, extend, indicate, paraphrase, restate, estimate, indicate, convert, represent, translate generalize
Applying 3 Solve problems to new situations by applying acquired knowledge. facts, techniques and rules in a different way. organize, grade, calculaie. divide, subtract, modify, use, compute, add, multiply, prepare, solve, change, dramatize, solve, produce, design, complete, sketch, operate
Analyzing 4 Examine and break information into partsby identifying motives or causes. Make inferences and find evidence to support generalirations. identify, detect, discriminate, interrelate,
breakdown, develop, infer, relate, categorize, distinguish, subalivide
Evaluating 5 Present and defend opinions by making judgments about information, validity
of ideas, or quality of work based on a sel of criteria.
assess, grade, judge, contrist, measures, defend, critique, rest. examine, rank, rate, compare, contrast, determine, justify, support. criticize, conclude
Creating 6 Compile information together in a
different way by combining elements
in a new pattem or proposing altemative solutions.
combine, composes develop, rewrites
propose, pescribe, hypothesize, formulate, generate, produce, transforn, devise, design integrate, drive

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain; Skill)

"พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว ชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ" พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้

  1. การเลียนแบบ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็น การเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
  2. กระทำตามสั่ง หรือ เครื่องชี้แนะ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบ ที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถ ปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
  3. การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัย เครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
  4. การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะ กระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
  5. การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่องจนสามารถ ปฏิบัติ ได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติซึ่งถือเป็นความสามารถของการ ปฏิบัติในระดับสูง

 

ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)

"ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที" ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียน เปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ ประกอบด้วยพฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก

  1. การรับรู้หรือการใส่ใจต่อสิ่งเร้า (Receiving or Attending) เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่ง เป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของ ความรู้สึกที่เกิดขึ้น
  2. การตอบสนอง (Responding) เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และ พอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
  3. การเห็นคุณค่า (Valuing) การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือใน คุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีใน สิ่งนั้น
  4. การจัดระบบค่านิยม (Organization) การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิก ค่านิยมเก่า
  5. บุคลิกภาพแสดงลักษณะ (Characterization) การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่ม จากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆ จนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทาง พฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้

Attitude and Affective Domain

ระดับขั้นความสามารถ

ระดับขั้นความสามารถหรือที่เรียกกันว่าระดับพฤติกรรมเป็นระดับขั้นความสามารถที่บลูมสร้างขึ้นมาสําหรับการจัดหมวดหมู่ระดับของคําถามที่เป็นนามธรรม ที่เกิดขึ้นทั่วไปในบริบทของการศึกษา ระดับขั้นความสามารถเป็นโครงสร้างที่มีประโยชน์ สําหรับจัดหมวดหมู่คําถามที่ใช้ในการทดสอบ เนื่องจากผู้สอนทั้งหลายจะตามคําถามที่มีลักษณะเฉพาะตัวภายในระดับขั้นที่เฉพาะเจาะจง และถ้าเราสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกระดับคําถามใดไปใช้ในการสอบของเรา เราจะสามารถศึกษาวิธีการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับคําถามนั้น ๆ ได้

สมรรถนะ/พฤติกรรม (Competence) ความหมาย (Definition) คํากริยาที่ใช้
(Useful Verbs)
ทักษะที่แสดงออก
(Skills Demonstrated)
ตัวอย่างคําถาม
(Sample Question Stems)
ผลผลิตและกิจกรรมที่มีศักยภาพ (Potential Activities and Products)
1. ความรู้ ความจํา มีความรู้และความจำประสบการณ์ในสิ่งที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ บอก, ชี้, บ่ง, ให้, รายการ, จับคู่, บอกข้อ, ให้นิยาม, ระบุ - การสังเกตและการระลึก ข้อมูล
- ความรู้เกี่ยวกับวันที่เหตุการณ์ สถานที่
- ความรู้เกี่ยวกับความคิดหลัก
- ความรอบรู้ในเนื้อหาวิชา
- เกิดอะไรขึ้นหลังจาก...?
- มี...จำนวนเท่าใด?
- นั่นใครที่กำลัง..?
- คุณสามารถบอกชื่อ...ได้ไหม?
- จงบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่...
- ใครพูดกับ..?
- อะไรคือ...?
- ข้อไหนถูกหรือผิด?
- จงทำรายการเหตุการณ์สำคัญ
- จงลำดับเวลาที่เกิดเหตุการณ์
- จงทำแผนภูมิข้อเท็จจริง
- จงเขียนข้อมูลต่าง ๆ ที่คุณจำได้
- จงระบุ...ทั้งหมดในเรื่อง
- จงเขียนแผนภูมิที่แสดง...
- จงเขียนกลอนที่มีสัมผัสอักษร
- จงท่องโคลงมาหนึ่งโคลง
2. ความเข้าใจ มีความเข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ความหมายสัญลักษณ์ ความสัมพันธ์ ข้อมูล คติ
พจน์และหลักการ
แปลเปลี่ยน, บอกความแตกต่าง, บอกความคล้ายคลึง, ขยายความ, ยกตัวอย่าง, อธิบาย
ความหมาย, สรุป, จัดเรียง, เรียงใหม่, สาธิตเผยแพร่, พรรณา, ให้เหตุผลอธิบาย, อภิปราย
- ความเข้าใจข้อมูล
- จับความหมาย
- แปลความรู้ไปสู่บริบทใหม่
- ตีความเปรียบเทียบ
- เทียบเคียงข้อเท็จจริง
- จัดระเบียบ จัดกลุ่มอ้างอิง
- ข้อมูลหรือสาเหตุ
- คาดเดาผลต่อเนื่อง
- คุณเขียน...เป็นคำพูดของตนเองได้ไหม?
- คุณสามารถเขียนโครงร่างย่อๆ ของ...ได้ไหม?
- คุณคิดว่าอะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
- คุณคิดว่าใคร...?
- ใจความสำคัญของ...คืออะไร?
- ใครคือตัวละครหลัก...?
- คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่าง...?
- มีข้อแตกต่างอะไรบ้างระหว่าง...?
- พอจะยกตัวอย่างประกอบคำอธิบายได้ไหม?
- หาคำจำกัดความของ...ได้ไหม?
- ตัดแปะหรือวาดภาพเพื่อแสดงเหตุการณ์พิเศษเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
- ขยายความสิ่งที่คุณคิดว่าเป็นใจความสำคัญ
- จงวาดการ์ตูน 3 ช่องแสดงลำดับเหตุการณ์
- จงเขียนและแสดงละครตามเรื่องที่อ่าน
- จงวาดภาพสถานที่ที่คุณชอบ
- จงเขียนรายงานสรุปเหตุการณ์
- จงเตรียม flow chart แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์ต่าง ๆ
3. การนำไปใช้ สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมาใช้ทำสิ่งใหม่ ๆ ได้ ประยุกต์, จัดระบบ,
แก้ปัญหา, เปลี่ยนแปลง, ใช้, จัดชั้น, เลือก, การโชว์, การคำนวณ, การจัดทำโครงการใหม่, เสนอ
- ใช้ข้อมูล
- ใช้วิธีการ แนวคิด ทฤษฎีในสถานการณ์ใหม่
- แก้ปัญหาโดยใช้ทักษะหรือความรู้ที่กำหนดให้
- คุณรู้จักตัวอย่าง/กรณีที่.....
- เรื่องนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ใน...?
- คุณจัดกลุ่มโดยอุปนิสัยเช่น...ได้ไหม?
- คุณจะเปลี่ยนองค์ประกอบตัวใด ถ้า...?
- คุณสามารถประยุกต์วิธีการที่ใช้เข้ากับประสบการณ์ของตนเองในด้าน...ได้ไหม
- คุณจะถามคำถามอะไรเกี่ยวกับ...?
- จากข้อมูลที่ให้ คุณสามารถพัฒนา/เขียนวิธีทำหรือคำสั่งเกี่ยวกับ...ได้ไหม?
- ข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ไหม ถ้าคุณมี...?
- จงทำรูปแบบจำลองเพื่อสาธิตว่ามันทำงานอย่างไร
- จงสร้างฉากจำลองเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่ง
- จงทำสมุดภาพเกี่ยวกับขอบเขตการศึกษา
- จงทำแผนที่กระดาษนูนที่รวบรวมข้อมูลที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง
- รวบรวมภาพถ่ายเพื่อนำเสนอประเด็นสำคัญ
- ออกแบบยุทธศาสตร์การตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ของตนโดยเลียนแบบยุทธศาสตร์ที่เป็นที่รู้จัก
4. การวิเคราะห์ สามารถแยกวัตถุสิ่งของเป็นส่วน ๆ เป็นชิ้นเป็นอันทำให้ทราบถึงองค์ประกอบของวัตถุ
สิ่งของนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อการศึกษาระดับ
ชั้นสูงต่อไป
เปรียบเทียบ, แยกแยะ, ความแตกต่าง, ทดสอบ,
ทดลอง, วิเคราะห์ ,
ตรวจสอบ, โต้แย้ง, ถามสังเกต, ให้เหตุผล, จัดประเภท, จำแนก
- การเห็นวิธีการต่าง ๆ
- การจัดการส่วนต่าง ๆ
- การจดจำความหมายต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่
- การระบุลักษณะขององค์ประกอบ
- เหตุการณ์ใดสามารถเกิดขึ้นได้...?
- ถ้า...เกิดขึ้นจุดจบน่าจะเป็นอย่างไร?
- สิ่งชี้คล้ายคลึงกับ...อย่างไรประเด็นที่ซ่อนเร้นของ...คืออะไร?
- มีผลลัพธ์อื่นใดบ้างที่มีทางจะเป็นไปได้?
- ทำไมการเปลี่ยนแปลงใน...จะเกิดขึ้นได้?
- คุณเปรียบเทียบ...กับที่แสดงใน...?
- อธิบายได้ไหมว่าอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ...?
- มีอะไรเป็นแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง...?
- มีอะไรเป็นจุดเปลี่ยนในเกมนั้น?
- ออบแบบแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูล
- เขียนประชาสัมพันธ์เพื่อขายผลิตภัณฑ์ใหม่
- จงสำรวจหาข้อมูลเพื่อสนับสนุนทัศนะใดทัศนะหนึ่ง
- ทำ flow chart เพื่อแสดงสภาวะวิกฤตต่าง ๆ
- จงทำกราฟเพื่อแสดงข้อมูลที่เลือกมา
- จงทำผังครอบครัวแสดงถึงสัมพันธภาพ
- ให้จัดงานปาร์ตี้ จงเตรียมการทุกอย่างและบันทึกขั้นตอนที่จำเป็น
5. การสังเคราะห์ สามารถรวมความคิดเห็น ความเชื่อที่
แตกต่างกัน เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างข้อความ รวมสิ่งย่อยเข้า
เป็นสิ่งใหญ่
รวม, บูรณาการ, เปลี่ยน, จัดแจง, ใช้แทน, วางแผน, สร้างสรรค์, ออกแบบ, ประดิษฐ์อะไรจะเกิดขึ้นถ้า...? สร้างประกอบ, เตรียม, สรุปกฎเขียนใหม่ - ใช้ความคิดเดิมมาสร้างแนวคิดใหม่
- สรุปกฎเกณฑ์จากข้อเท็จจริงที่ให้
- เชื่อมโยงความรู้จากหลาย ๆ สาขา
- คาดคะแน
- ลงข้อสรุป
- ให้ออกแบบ...เพื่อ...
- ทำไมไม่แต่งเพลงเกี่ยวกับ...?
- ให้คิดหาวิธีแก้ปัญหาโจทย์เพื่อ...
- ทำไมไม่เปลี่ยนวิธีการของตนเพื่อจัดการกับ...?
- อะไรจะเกิดขึ้นถ้า...?
- มีวิธีการกี่วิธีที่สามารถ...?
- คุณเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างสำหรับ...?
- คุณเชื่อไหม?
- ให้ออกแบบที่เก็บงานที่ศึกษา
- ให้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งชื่อและวางแผนรณรงค์การตลาด
- ให้เตรียมเกณฑ์การตัดสินสำหรับกรรมการตัดสินการแสดง...ระบุเงื่อนไขข้อยกเว้นและน้ำหลักคะแนน
- จัดการโต้วาทีเกี่ยวกับประเด็นที่อยู่ในความสนใจเป็นพิเศษ
- ให้คิดกฎกติกา 5 อย่างที่เห็นว่าสำคัญในการปฏิบัติตนเพื่อโน้มน้าวคนอื่นให้ปฏิบัติตาม
- จัดอภิปรายเกี่ยวกับทัศนะต่าง ๆ เช่น การเรียนที่โรงเรียน
- เขียนจนหมายหนึ่งฉบับถึง...เสนอแนะการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในเรื่อง...
- เขียนรายงานเกี่ยวกับ.....
- เตรียมเรื่องสำหรับนำเสนอข้อคิดเห็นของตนเกี่ยวกับ.....

คำกริยาที่บ่งถึงประเภทและระดับพฤติกรรม

ตารางแสดงตัวอย่างคำกริยาที่บ่งถึงประเภทและระดับพฤติกรรมในการเขียนจุดประสงค์การสอน

ประเภท ระดับ จุดประสงค์ทั่วไป จุดประสงค์เฉพาะ
พุทธพิสัย ความรู้ รู้ระบบแบบแผน, รู้ระดับขั้นตอน, รู้กฎเกณฑ์, รู้วิธีการ, รู้กระบวนการ, รู้ทฤษฎี บอกความหมาย, บอกคำจำกัดความ, บอกรูปแบบ, บอกกฎ, บอกชนิด, บอกชื่อ, ระบุชื่อ, บอกหลักการ, บอกข้อกำหนด, บอกองค์ประกอบ, บอกลักษณะ, บอกการกระทำ, บอกวิธีใช้, บอกวิธีปฏิบัติ, บอกวิธีการ, จัดประเภท, จำแนก, เขียนรูปแบบ, เขียนลำดับขั้น
ความเข้าใจ เข้าใจเรื่องเกี่ยวกับ, เข้าใจทฤษฎี, เข้าใจกระบวนการ, เข้าใจกฎเกณฑ์, เข้าใจหลักสูตร, เข้าใจหลัก, วิธีการ อธิบาย, ให้ความหมาย, เขียนสูตร, บรรยายขยายความ, เขียนลักษณะโครงสร้าง, อธิบายขั้นตอน, ตีความ, แยกข้อแตกต่าง
การนำไปใช้ แก้ปัญหา, ตรวจสอบ, คำนวณ, พิจารณาเลือก, ประมาณการ, จัดทำ, ใช้สูตรคำนวณ, ใช้เครื่องมือสอบ, ใช้ระเบียบปฏิบัติ สรุปความ, หาจุดบกพร่อง, ลงความเห็น, บอกวิธีการ, แก้, คาดคะเน, คำนวณหาค่า, พยากรณ์, โดยกำหนด,ประมาณค่าแรง, ซ่อม, จุดบกพร่องเลือกหรือค้นหา
สูงกว่า อภิปราย, วางแผน, ออกแบบ, พัฒนา, วิเคราะห์, สร้างสรรค์, ประเมินผล, ประเมินค่า ปรับปรุงปฏิบัติ, เขียนแผลงาน, หาขนาดหรือหาค่า, โดยใช้ตาราง, ชี้ข้อดีข้อเสีย, วางหลักการ, เขียนกำหนดการ, เขียนแผนการ, จัดลำดับขั้นตอน, คำนวณขนาด, คำนวณเปรียบเทียบ, วางแผน, เขียนโครงสร้าง, เปลี่ยนแปลง, ปรับปรุง, พิจารณาเลือก
ทักษะพิสัย ไม่แบ่งระดับ ใช้เครื่องมือ, ใช้อุปกรณ์, ปฏิบัติงาน, ติดตั้งอุปกรณ์, ตรวจสอบและแก้ไข, ซ่อมบำรุง, ทำ, สร้าง, ประดิษฐ์ ประดิษฐ์, พิจารณาเปรียบเทียบ, ออกแบบ, เลือก, ตัดสิน

คำกิริยาที่เกี่ยวกับปฏิบัติการที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น ผูกรอก ทาสี ตอกระปู วัดขนาด ทำความสะดาด ถอด ใส่ เจาะ เย็บ เขียนหรือสเก็ตภาพ ลับมีด ตั้งศูนย์ล้อ ติดตา ต่อกิ่ง ฉีดยา

จิตพิสัย ไม่แบ่งระดับ เห็นความสำคัญ, เห็นคุณค่า, รับผิดชอบ, ทัศนคติ กิจนิสัย, มีระเบียบ, สะอาด, ปราณีต แสดงความเสียใจ, เห็นด้วย, ให้ความร่วมมือ ,ปฏิบติตาม, ร่วมกิจกรรม, ปฏิบัติงานตรงเวลา, แสดงออกของกิจนิสัย, สอบถามติดตาม

หมายเหตุ คำกิริยาสำหรับจุดประสงค์เฉพาะบางคำใช้ได้กับพฤติกรรมหลายระดับ เช่น คำว่า บอก เขียน คำนวณ ดังนั้นการพิจารณาจุดประสงค์ว่าจะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับข้อความที่ตามหลังกิริยา นั้น

แหล่งอ้างอิง

Bloom's Taxonomy: The Psychomotor Domain. (2015, Jan 12). http://www.nwlink.com/~donclark/hrd/Bloom/psychomotor_domain.html

Saideeg, A. (2016). Bloom’s Taxonomy, Backward Design, and Vygotsky’s Zone of Proximal Development in Crafting Learning Outcomes. International Journal of Linguistics. 8(2)158-186. DOI: 10.5296/ijl.v8i2.9252