ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
ปรับปรุงล่าสุด : 24 พฤษภาคม 2563
เรามาทำความรู้จักฉลากสารเคมีระบบ GHS กันว่าคืออะไร
ปัจจุบันการติดฉลากสารเคมีจะใช้ระบบเดียวกันทั่วโลก คือระบบ GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals) องค์ประกอบของฉลากสารเคมี ตามระบบ GHS ประกอบด้วย 7 ส่วนหลัก
- ชื่อผลิตภัณฑ์
- รูปสัญญลักษณ์ (Pictogram) หมายถึง ข้อมูลเชิงภาพที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์สีดำที่มีกรอบสีแดงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดบนพื้นขาวซึ่งมีการใช้รูปสัญลักษณ์ 9 รูป
- คำสัญญาณ (Signal Word) หมายถึง คำที่ใช้เพื่อบ่งชี้ระดับความรุนแรงของความเป็นอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และเตือนผู้อ่านถึงความเป็นอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งปรากฏอยู่บนฉลาก ระบบ GHS ใช้คำว่า “Danger” หรือ “อันตราย” และ “Warning” หรือ “ระวัง” เป็นคำสัญญาณ
- ข้อความแสดงความเป็นอันตราย (Hazard Statement) หมายถึง ข้อความบอกประเภทและกลุ่มความเป็นอันตรายซึ่งระบุลักษณะของความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์อันตรายที่ประกอบด้วยระดับความเป็นอันตรายตามความเหมาะสม
- การระบุผู้ผลิตหรือจำหน่าย
- ข้อควรระวังหรือข้อความเตือน (Precautionary Statement) หมายถึง วลี (และ/หรือ รูปสัญลักษณ์) ซึ่งระบุมาตรการแนะนำที่ควรปฏิบัติตามเพื่อลดหรือป้องกันการเกิดผลร้ายที่เกิดจากการได้รับสัมผัสกับผลิตภัณฑ์อันตราย หรือการจัดเก็บหรือจัดการผลิตภัณฑ์อันตรายที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
- ข้อมูลเพิ่มเติม
The new GHS requires pictograms on labels to alert users to chemical hazards in the workplace.
Each pictogram is a standard image that is internationally recognizable.
The pictogram on the label is determined by the chemical hazard classification.
ฉลากสารเคมี “แอซีโตน“
1 ชื่อผลิตภัณฑ์
2 คำสัญญาณ “Danger” และ “Warning”
3 ข้อความแสดงความเป็นอันตราย
4 รูปสัญญลักษณ์
5 ข้อควรระวังหรือข้อความเตือน
6 การระบุผู้ผลิตหรือจำหน่าย
การจำแนกประเภทสารเคมี
(Method of Classification)
ฉลากสารเคมีระบบ GSH เพื่อต้องการสื่อข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะอันตรายของสารเคมี ว่าลักษณะอันตรายอย่างไร จะจัดอยู่ในประเภทใด หรือกลุ่มใด
การจำแนกประเภทสารเคมี จะพิจารณาจากลักษณะอันตรายเป็นหลัก ซึ่งอันตรายที่กำหนดตามระบบ GHS จะมี 3 ประเภท คือ
1. อันตรายด้านกายภาพ (Physical Hazard) มี 16 ชนิด ดังนี้
1.1 วัตถุระเบิด (Explosives)
1.2 ก๊าซไวไฟ (Flammable gases)
1.3 ละอองลอยไวไฟ (Flammable aerosols)
1.4 ก๊าซออกซิไดส์ (Oxidizing gases)
1.5 ก๊าซภายใต้ความดัน (Gases under pressure)
1.6 ของเหลวไวไฟ (Flammable liquids)
1.7 ของแข็งไวไฟ (Flammable solids)
1.8 สารที่ทำปฏิกิริยาได้เอง (Self-reactive substances and mixtures)
1.9 ของเหลวที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric liquids)
1.10 ของแข็งที่ลุกติดไฟได้เองในอากาศ (Pyrophoric solids)
1.11 สารที่เกิดความร้อนได้เอง (Self-heating substances and mixtures)
1.12 สารที่สัมผัสน้ำแล้วให้ก๊าซไวไฟ (Substances and mixtures which, in contact with water, emit flammable gases)
1.13 ของเหลวออกซิไดส์ (Oxidizing liquids)
1.14 ของแข็งออกซิไดส์ (Oxidizing solids)
1.15 สารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Organic peroxides)
1.16 สารกัดกร่อนโลหะ (Corrosive to metals)
2. อันตรายด้านสุขภาพ (Health Hazard) มี 10 ชนิด ดังนี้
2.1 ความเป็นพิษเฉียบพลัน (Acute toxicity)
2.2 การกัดกร่อนและการระคายเคืองต่อผิวหนัง (Skin corrosion/irritation)
2.3 การทำลายดวงตาอย่างรุนแรงและการระคายเคืองต่อดวงตา (Serious eye damage/eye irritation)
2.4 การทำให้ไวต่อการกระตุ้นอาการแพ้ต่อระบบทางเดินหายใจหรือผิวหนัง (Respiratory or skin sensitization)
2.5 การก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์สืบพันธุ์ (Germ cell mutagenicity)
2.6 การก่อมะเร็ง (Carcinogenicity)
2.7 ความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์ (Reproductive toxicity)
2.8 ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการรับสัมผัสครั้งเดียว (Specific target organ toxicity – single exposure)
2.9 ความเป็นพิษต่อระบบอวัยวะเป้าหมายอย่างเฉพาะเจาะจงจากการรับสัมผัสซ้ำ (Specific target organ toxicity – Repeated exposure)
2.10 ความเป็นอันตรายจากการสำลัก (Aspiration hazard)
3. อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Environment Hazard) มี 1 ชนิด คือ
3.1 อันตรายต่อสิ่งแวดล้อมในน้ำทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง (Hazardous to the aquatic environment)
การจัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet, SDS)
เพื่อใช้สำหรับสื่อข้อมูลของสารเคมีอย่างละเอียด โดยเน้นในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ขนส่ง และผู้เก็บรักษา
………………………………………
Safety Data Sheet (SDS) เดิมเรียกว่า Material Safety Data Sheet (MSDS) หมายถึง เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี ซึ่งเป็นเอกสารที่แสดงข้อมูลของสารเคมี หรือเคมีภัณฑ์เกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย
มีการกำหนดให้ใช้ SDS เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการสื่อสารข้อมูลสารเคมีนอกเหนือจากบนฉลาก และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและเป็นระบบเดียวกัน จึงกำหนดให้เรียกว่า Safety Data Sheet (SDS) พร้อมกับได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
1) ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี และบริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย (Identification of the substance/preparation and of the company/undertake)
2) ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย (Hazards identification)
3) ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม (Composition/Information on Ingredients)
4) มาตรการปฐมพยาบาล (First aid measures)
5) มาตรการผจญเพลิง (Fire fighting measures)
6) มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ (Accidental release measures)
7) ข้อปฏิบัติในการใช้และการเก็บรักษา (Handling and storage)
8) การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล (Exposure controls/personal protection)
9) คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ (Physical and chemical properties)
10) ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา (Stability and reactivity)
11) ข้อมูลด้านพิษวิทยา (Toxicological information)
12) ข้อมูลเชิงนิเวศน์ (Ecological information)
13) มาตรการการกำจัด (Disposal considerations)
14) ข้อมูลสำหรับการขนส่ง (Transport information)
15) ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ (Regulatory information)
16) ข้อมูลอื่น (Other information)