วัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม เป็นสาขาสหวิชาประยุกต์ใช้ความรู้จากหลายสาขาวิชา เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เพื่ออธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างและสมบัติต่างๆ ของวัสดุ ตลอดจนการนำไปใช้งาน กระบวนการผลิตต่างๆ และปรับปรุงพัฒนาสมบัติและสร้างวัสดุใหม่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตอบสนองความต้องการและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ ควบคู่ไปกับการศึกษาความรู้เบื้องต้นทางด้านอุตสาหกรรมโดยสาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มุ่งเน้นในการศึกษาวัสดุใน 2 กลุ่มหลัก ได้แก่
- กลุ่มวัสดุฉลาดคือวัสดุที่สามารถรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น เซนเซอร์ วัสดุจำรูป
- กลุ่มวัสดุพอลิเมอร์ เช่น ยาง พลาสติก เป็นต้น
วัสดุศาสตร์โดยทั่วไปจะมุ่งความสนใจไปที่สมบัติต่าง ๆ ของวัสดุในสภาวะที่เป็นของแข็ง อันได้แก่ โครงสร้างระดับอะตอมหรือโมเลกุลของวัสดุ สมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์ การนำความร้อน สมบัติทางเคมี สมบัติทางแม่เหล็กไฟฟ้า สมบัติที่ยอมให้แสงผ่าน หรือการผสมผสานกันของบางสมบัติตามที่กล่าวมานี้ สมบัติของวัสดุที่สังเกตง่ายและชัดเจนจะแสดงออกมาในรูปของสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ ส่วนความแตกต่างในระดับโครงสร้างโมเลกุลและอะตอมจะต้องใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่ซับซ้อนในการตรวจสอบ สำหรับการประเมินสมรรถนะของวัสดุจะเป็นพื้นฐานของงานวิศวกรรมที่จะนำวัสดุนั้นๆไปใช้งาน ส่วนวิชาว่าด้วยวัสดุศาสตร์จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการความรู้ทางเทคโนโลยีของวัสดุสี่ส่วนซึ่งแต่ละส่วนจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเป็นรูปสี่มุมสี่ด้าน (tetrahedron)
การนำวิชาการทางด้านวัสดุศาสตร์ไปใช้งานทางด้านวิศวกรรมอย่างกว้างขวางทำให้เกิดนิยามของวิชาการสาขานี้ใหม่เป็น “วัสดุศาสตร์และวิศวกรรม” วัสดุที่คิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือไม่ก็เกิดอุตสาหกรรมใหม่ อุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องมีนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรสาขาวัสดุศาสตร์คอยดูแลแก้ไขปัญหาและวิจัยวัสดุใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง ในอุตสาหกรรมนักวัสดุศาสตร์จะมีบทบาทในส่วนของการออกแบบวัสดุ (materials design) การประเมินค่าใช้จ่ายในการผลิตวัสดุนั้นๆ ดูแลกระบวนการทางเทคนิคซึ่งประกอบด้วย การหล่อ การฉีดขึ้นรูป การเชื่อม การใส่ประจุ การเลี้ยงผลึก การลอกฟิล์ม (thin-film deposition) การเป่าแก้ว เป็นต้น และเทคนิคการวิเคราะห์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน การเอ็กซเรย์ เป็นต้น การจำแนกประเภทวัสดุ ตามสมบัติและโครงสร้างทางเคมี สามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่มหลักๆ คือ โลหะ เซรามิกและแก้ว และพอลิเมอร์ แต่ปัจจุบันมีการจำแนกวัสดุกลุ่มใหม่เพิ่มเติมอีก 4 กลุ่มคือ วัสดุเชิงประกอบ วัสดุชีวภาพ สารกึ่งตัวนำและวัสดุฉลาด
จุดเด่นหลักสูตร
“การพัฒนาและเสริมสร้างทักษะทางด้านนวัตกรรมวัสดุและเทคโนโลยีวัสดุ และผลิตต้นแบบผลิตภัณธ์จากวัสดุ”
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
วิทยาเขต/คณะ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์พระนครเหนือ
ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science Program in Industrial Materials Science
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อปริญญา (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (วัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (วัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม)
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Industrial Materials Science)
ชื่อย่อ(ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Industrial Materials Science)
โครงสร้างหลักสูตร |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร จำนวน 131 หน่วยกิต โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในมาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้ |
ก.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
ก.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย | 3 หน่วยกิต |
ก.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ | 12 หน่วยกิต |
ก.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
ก.4 กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ | 2 หน่วยกิต |
ก.5 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
ก.6 กลุ่มวิชาบูรณาการ | 4 หน่วยกิต |
ข.หมวดวิชาเฉพาะ | 95 หน่วยกิต |
ข.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 23 หน่วยกิต |
ข.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ | 51 หน่วยกิต |
ข.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก | 21 หน่วยกิต |
ค.หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต ให้เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้ หรือวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
กลุ่มวิชาภาษาไทย 3 หน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2100101 | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร | 3(3-0-6) |
(Thai for Communication) | ||
GE2100102 | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ | 3(3-0-6) |
(Thai for Business Communication) | ||
GE2100103 | ภาษาไทยเพื่อการนําเสนอ | 3(3-0-6) |
(Thai for Presentation) | ||
GE2100104 | วรรณคดีไทย | 3(3-0-6) |
(Thai Literature) | ||
GE2100105 | การเขียนภาษาไทยเพื่ออาชีพ | 3(3-0-6) |
(Thai Writing for Careers) |
กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 12 หน่วยกิต ให้เลือกศึกษาจากรายวิชาต่อไปนี้ หรือวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2201101 | ภาษาอังกฤษ 1 | 3(3-0-6) |
(English 1) | ||
GE2201102 | ภาษาอังกฤษ 2 | 3(3-0-6) |
(English 2) | ||
GE2200101 | ภาษาอังกฤษเทคนิค | 3(3-0-6) |
(Technical English) | ||
GE2200102 | ภาษาอังกฤษเพื่ออาชีพ | 3(3-0-6) |
(English for Career) | ||
GE2200103 | การอ่านภาษาอังกฤษ | 3(3-0-6) |
(English Reading) | ||
GE2200104 | การฟังภาษาอังกฤษ | 3(3-0-6) |
(English Listening) | ||
GE2200105 | การสนทนาภาษาอังกฤษ | 3(3-0-6) |
(English Conversation) | ||
GE2200106 | ภาษาจีนพื้นฐาน | 3(3-0-6) |
(Fundamental Chinese) | ||
GE2200107 | ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร | 3(3-0-6) |
(Chinese for Communication) |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2300101 | พลวัตทางสังคมและความทันสมัย | 3(3-0-6) |
(Society Dynamics and Modernity) | ||
GE2300102 | มนุษย์สัมพันธ์ | 3(3-0-6) |
(Human Relations) | ||
GE2300103 | ระเบียบวิธีวิจัย | 3(3-0-6) |
(Research Methodology) | ||
GE2300104 | การพัฒนาคุณภาพชีวิตและทักษะสังคม | 3(3-0-6) |
(Quality of Life and Social Skill Development) | ||
GE2300105 | สังคมกับเศรษฐกิจ | 3(3-0-6) |
(Society and Economy) | ||
GE2300106 | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง | 3(3-0-6) |
(Sufficiency Economy Philosophy) | ||
GE2300107 | กฎหมายและจริยธรรมในวิชาชีพ | 3(3-0-6) |
(Law and Professional Ethics) | ||
GE2300108 | อาเซียนศึกษา | 3(3-0-6) |
(ASEAN Studies) | ||
GE2300109 | สันติศึกษา | 3(3-0-6) |
(Peace Studies) | ||
GE2400101 | การรู้สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า | 3(3-0-6) |
(Information Literacy and Study Skill | ||
GE2400102 | จิตวิทยาทั่วไป | 3(3-0-6) |
(General Psychology) | ||
GE2400103 | ไทยศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น | 3(3-0-6) |
(Thai Studies and Local Wisdom) | ||
GE2400104 | การพัฒนาบุคลิกภาพ | 3(3-0-6) |
(Personality Development) | ||
GE2400105 | พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน | 3(3-0-6) |
(Human Behavior and Self Development) | ||
GE2400106 | การวิจัยเชิงคุณภาพ | 3(3-0-6) |
(Qualitative Research) | ||
GE2400107 | การพัฒนาและประเมินโครงการ | 3(3-0-6) |
(Program Development and Evaluation) | ||
GE2400108 | การพัฒนาจิตเพื่อคุณภาพชีวิต | 3(3-0-6) |
(Mind Development for Quality of Life) |
กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2500101 | พลศึกษา | 1(0-2-1) |
(Physical Education) | ||
GE2500102 | ลีลาศ | 1(0-2-1) |
(Social Dance) | ||
GE2500103 | กีฬาประเภททีม | 1(0-2-1) |
(Team Sports) | ||
GE2500104 | กีฬาประเภทบุคคล | 1(0-2-1) |
(Individual Sports) | ||
GE2500105 | นันทนาการ | 1(0-2-1) |
(Recreation) |
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2600101 | คณิตศาสตร์พื้นฐาน | 3(3-0-6) |
(Fundamental Mathematics) | ||
GE2600102 | สถิติเบื้องต้น | 3(3-0-6) |
(Introduction to Statistics) | ||
GE2600103 | คณิตศาสตร์ในชีวิตประจําวัน | 3(3-0-6) |
(Mathematics in Daily Life) | ||
GE2700101 | วิทยาศาสตร์ในชีวิตประจําวัน | 3(3-0-6) |
(Science in Daily Life) | ||
GE2700102 | สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร | 3(3-0-6) |
(Environment and Resource Management) |
กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
• กลุ่มวิชาบูรณาการ
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE28001101 | ทักษะสร้างสรรค์และการสื่อสาร | 4(4-0-8) |
(Creative and Communication Skills) |
• กลุ่มวิชาบูรณาการด้านสังคมศาสตร์
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2810101 | โลกในศตวรรษที่ 21 | 2(2-0-4) |
(World in 21st Century) | ||
GE2810102 | การพัฒนาตนเองเพื่ออาชีพ | 2(2-0-4) |
(Self Development for Careers) | ||
GE2810103 | ชีวิตและการคิดเชิงบวก | 2(2-0-4) |
(Life and Positive Thinking) | ||
GE2810104 | การออกกำลังกายและกีฬาเพื่อสุขภาพ | 2(2-0-4) |
(Exercise and Sports for Health) | ||
GE2810105 | กิจกรรมเพื่อสุขภาพ | 2(2-0-4) |
(Activities for Health) |
• กลุ่มบูรณาการด้านวิทยาศาสตร์
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
GE2820101 | ปกิณกคณิตศาสตร์ | 2(2-0-4) |
(Miscellaneous Mathematics) | ||
GE2820102 | วิทยาศาสตร์กับการดำรงชีวิต | 2(2-0-4) |
(Science for Living) | ||
GE2820103 | วัสดุและการประยุกต์ใช่ในชีวิตประจำวัน | 2(2-0-4) |
(Material and Application in Daily Life) |
หมวดวิชาเฉพาะ 95 หน่วยกิต ประกอบด้วย
• กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 23 หน่วยกิต
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2031103 | แคลคูลัส 1 | 3(3-0-6) |
(Calculus 1) | ||
ST2031104 | แคลคูลัส 2 | 3(3-0-6) |
(Calculus 2) | ||
ST2031108 | เคมี1 | 3(3-0-6) |
(Chemistry 1) | ||
ST2041109 | ปฏิบัติการเคมี 1 | 1(0-2-1) |
(Chemistry Laboratory 1) | ||
ST2041110 | เคมี2 | 3(3-0-6) |
(Chemistry 2) | ||
ST2041111 | ปฏิบัติการเคมี 2 | 1(0-2-1) |
(Chemistry Laboratory 2) | ||
ST2051111 | ฟิสิกส์ทั่วไป | 3(3-0-6) |
(General Physics) | ||
ST2051112 | ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป | 1(0-2-1) |
(General Physics Laboratory) | ||
ST2051113 | ชีววิทยาทั่วไป | 3(3-0-6) |
(General Biology) | ||
ST2061104 | ปฏิบัติการชีววิทยาทั่วไป | 1(0-2-1) |
(General Biology Laboratory) | ||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2071301 | การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา | 1(0-2-1) |
(Preparation for Cooperative Education) |
• กลุ่มวิชาชีพบังคับ 51 หน่วยกิต ประกอบด้วย
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2071301 | วัสดุศาสตร์ | 3(3-0-6) |
(Materials Science) | ||
ST2072202 | สมบัติและการทดสอบวัสดุ | 3(2-2-5) |
(Properties and Testing of Materials) | ||
ST2072203 | กลศาสตร์วัสดุ | 3(3-0-6) |
(Mechanics of Materials) | ||
ST2072204 | ปฏิบัติการโรงงานสำหรับนักศึกษาวัสดุศาสตร์ | 1(0-2-1) |
(Manufacturing Workshop for Materials Science Students) | ||
ST2072205 | เขียนแบบสำหรับวัสดุศาสตร์ | 1(0-3-0) |
(Drawing for Materials Science) | ||
ST2072206 | โลหะวิทยา | 3(3-0-6) |
(Metallurgy) | ||
ST2072207 | เทคโนโลยีแก้วและเซรามิก | 3(3-0-6) |
(Glass and Ceramic Technology) | ||
ST2072208 | วิทยาการและเทคโนโลยีพอลิเมอร์ | 3(3-0-6) |
(Polymer Science and Technology) | ||
ST2072209 | กรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ | 3(3-0-6) |
(Product Manufacturing Process) | ||
ST2072210 | ปฏิบัติการกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ | 1(0-3-0) |
(Product Processing Laboratory) | ||
ST2072211 | การศึกษาลักษณะเฉพาะของวัสดุและการตรวจสอบ | 3(3-0-6) |
(Materials Characterizations and Inspections) | ||
ST2072212 | ผลิกศาสตร์ | 3(3-0-6) |
(Crystallography) | ||
ST2072213 | การสร้างแบบจำลองต้นแบบอย่างรวดเร็ว | 2(1-2-3) |
(Rapid Prototyping Model) | ||
ST2072214 | การกัดกร่อนและการสึกหรอ | 3(3-0-6) |
(Corrosion and Wear) | ||
ST2072215 | จลนพลศาสตร์และปรากฏการณ์การถ่ายโอนทางวัสดุ | 3(3-0-6) |
(Kinetics and Transport Phenomena in Materials) | ||
ST2072216 | สัมมนาทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม | 1(0-2-1) |
(Seminar in Industrial Materials Science) | ||
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2072217 | วัสดุอิเล็กโทรเซรามิก | 3(3-0-6) |
(Electro ceramic Materials) | ||
ST2072218 | เทคโนโลยีการเคลือบผิว | 3(2-2-5) |
(Surface Coating Technology) | ||
ST2072219 | ปฏิบัติการการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย | 1(0-3-0) |
(Nondestructive Testing Laboratory) | ||
ST2072220 | การเตรียมโครงงานทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม | 2(1-2-3) |
(Industrial Materials Science Pre-Project) | ||
ST2072421 | โครงงานทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม | 3(0-6-3) |
(Industrial Materials Science Project) |
• กลุ่มวิชาชีพเลือก 21 หน่วยกิต กำหนดให้ศึกษาดังนี้
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2073401 | สหกิจศึกษาทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม | 6(0-40-0) |
(Cooperative Education for Industrial Materials Science) |
ในกรณีไม่สามารถลงทะเบียนวิชาสหกิจศึกษาทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยการจัดสหกิจศึกษาและการฝึกงานวิชาชีพ พ.ศ. 2553 หรือมติของคณะกรรมการประจำหลักสูตร ให้เลือกลงทะเบียนวิชาการฝึกงานทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม
ST2073402 | การฝึกงานทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม | 3(0-40-0) |
(Practice for Industrial Materials Science) |
เลือกศึกษาให้ครบ 21 หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้
กลุ่มวิชาวัสดุชีวภาพ
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2073303 | วัสดุนาโนและวัสดุชีวภาพ | 3(3-0-6) |
(Nanomaterials and Biomaterials) | ||
ST2073304 | วัสดุเซรามิกชีวภาพ | 3(3-0-6) |
(Bioceramic Materials) | ||
ST2073305 | ทันตชีววัสดุศาสตร์ | 3(3-0-6) |
(Dental Biomaterials Science) | ||
ST2073306 | เทคโนโลยียาง | 3(2-2-5) |
(Rubber Technology) | ||
ST2073307 | พลาสติกชีวภาพ | 3(3-0-6) |
(Bioplastics) | ||
ST2073308 | วัสดุสำหรับเครื่องสำอาง | 3(2-2-5) |
(Materials for Cosmetics) |
กลุ่มวิชาบรรจุภัณฑ์
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2073309 | เทคโนโลยีและนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ | 3(3-0-6) |
(Packaging Technology and Innovation) | ||
ST2073310 | การออกแบบผลิตภัณฑ์ | 3(2-2-5) |
(Product Design) | ||
ST2073311 | การเสื่อมสภาพและการนำกลับมาใช้ใหม่ของพอลิเมอร์ | 3(3-0-6) |
(Polymer Degradation and Recycling) |
กลุ่มวิชาเสริมทักษะด้านอุตสาหกรรม
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2073312 | การซ่อมบำรุงและการตรวจสอบในงานอุตสาหกรรม | 3(2-2-5) |
(Maintenance and Inspection in Industrial Works) | ||
ST2073313 | คอมพิวเตอร์และการโปรแกรมสำหรับวัสดุศาสตร์ | 3(2-2-5) |
(Computer and Programming for Materials Science) | ||
ST2073314 | การออกแบบการทดลองสำหรับวัสดุศาสตร์ | 3(3-0-6) |
(Experimental Design for Materials Science) | ||
ST2073315 | การออกแบบโรงงานอุตสาหกรรมและลอจิสติกส์ | 3(3-0-6) |
(Industrial Plant Design and Logistics) | ||
ST2073316 | เศรษฐศาสตร์และกฎหมายอุตสาหกรรม | 3(3-0-6) |
(Industrial Economics and Laws) |
กลุ่มวิชาหัวข้อพิเศษ
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | หน่วยกิต |
ST2073317 | หัวข้อพิเศษทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม 1 | 3(3-0-6) |
(Special Topics in Industrial Materials Science 1) | ||
ST2073318 | หัวข้อพิเศษทางวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม 2 | 3(3-0-6) |
(Special Topics in Industrial Materials Science 2) |
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกศึกษาจากรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ระดับปริญญาตรี
การรับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สำนักงาน ก.พ.
การรับรองคุณวุฒิเพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสำนักงาน ก.ค.ศ.
การรับรองจากสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา
การรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรวิชาชีพของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
การรับรองจากสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือ
- สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ในประเภทวิชาอุตสาหกรรม
ค่าบำรุงการศึกษา ค่าลงทะเบียน และค่าสนับสนุนการจัดการศึกษา “แบบแหมาจ่าย” รายภาคการศึกษา
ภาคการศึกษา (ปกติ) 13,000 บาท
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2557
ดร.จิระศักดิ์ ธาระจักร์
|
ผศ.ดร.กัลทิมา เชาว์ชาญชัยกุล
|
รศ.ดร.วิไลวรรณ ลีนะกุล
|
ผศ.ดร.ธนพงศ์ สารีอินทร์
|
ผศ.ดร.ปิยะพงษ์ ปานแก้ว
|
ผลงานวิจัย : ผลึกแก้วเซรามิกชีวภาพนาโน สำหรับประยุกต์ใช้รักษาโรคมะเร็ง
นักวิจัย : รศ.ดร.วิไลวรรณ ลีนะกุล อาจารย์สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม
รศ.ดร.วิไลวรรณ ลีนะกุล อาจารย์สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้ศึกษาวิจัยการควบคุมขนาดของอนุภาคสารแม่เหล็กในแก้วเซรามิกชีวภาพ โดยทำการพัฒนากระบวนการผลิตแก้วเซรามิกชีวภาพ ที่ประกอบไปด้วยผลึกของสารแม่เหล็กออกไซด์ ซึ่งการควบคุมขนาดและชนิดของผลึก ด้วยการใช้กระบวนการทางความร้อน (heat treatment) ในการปลูกผลึกในแก้วชีวภาพ ซึ่งขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย การเตรียมแก้วเซรามิกชีวภาพ 45S5 ที่เป็นแก้วทางการค้าและมีการเติมสารแม่เหล็กที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จากนั้นจึงทำการปลูกผลึกในแก้ว เพื่อให้เปลี่ยนโครงสร้างเป็นแก้วเซรามิกที่มีผลึกนาโนของแม่เหล็ก โดยผลจากการวิจัยในห้องปฎิบัติการพบว่า แก้วเซรามิกที่ได้มีเฟสองค์ประกอบที่สามารถเข้าได้กันกับสารละลายเลือดเทียม โดยสามารถแตกตัวให้ไอออนที่สร้างเซลล์กระดูก แสดงถึงความเข้ากันได้ทางชีวภาพของชิ้นงาน อีกทั้งสมบัติทางแม่เหล็กที่วัดได้แสดงถึงความเป็นแม่เหล็กแบบชั่วคราว และเมื่อให้ค่าสนามแม่เหล็กซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ชิ้นงานแก้วเซรามิกสามารถสร้างความร้อนได้และเมื่อทำการทดสอบความเป็นพิษในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต พบว่าสารตัวอย่างที่สังเคราะห์ทั้งหมดไม่มีความเป็นพิษกับเซลล์ทุกเงื่อนไข
ผลงานวิจัย : การประดิษฐ์เซรามิกขั้นสูงสำหรับประยุกต์วัสดุทันตกรรม เพิ่มโอกาสเพิ่มทางเลือกให้ผู้มีปัญหาทางทันตกรรม
นักวิจัย : รศ.ดร.วิไลวรรณ ลีนะกุล อาจารย์สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม
รศ.ดร.วิไลวรรณ ลีนะกุล อาจารย์สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จึงทำการศึกษาโครงสร้างกายภาพและสมบัติเชิงกลของ แก้วเซรามิก ชนิดลิเทียมไดซิลิเกต สำหรับการประยุกต์ใช้ในทางทันตกรรม (The studying of Microstructure and Mechanical Properties of Lithium disilicate Glass-ceramic System For Dental Applications) โดยนำเซรามิกที่มีความแข็งแรงสูงมาใช้ในการบูรณะฟัน สามารถรับแรงบดเคี้ยวได้ดี มีสีสันสวยใสแสงสามารถทะลุผ่านและสะท้อนออกมาได้ใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติมากขึ้นที่สำคัญราคาไม่สูงเกินไป ซึ่งเป็นกระบวนการควบคุมการเกิดผลึก (Controlled Crystallization) ด้วยกระบวนการทางความร้อน (heat treatment) ร่วมกับการใส่สารสร้างนิวเคลียส (Nucleating Agent) ไว้ในเซรามิกให้เป็นจุดเริ่มต้นของขบวนการเกิดผลึก (Crystallization) โดยเมื่อนำเซรามิกนี้ไปหลอมที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่กำหนดจะเกิดผลึกที่มีรูปร่างกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneity) และมีปริมาณผลึกจำนวนมากกระจายอยู่ในชั้นเซรามิก ซึ่งปริมาณของผลึกที่เพิ่มขึ้นนี้ส่งผลให้ความแข็งแรงของเซรามิกเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งเพียงพอที่จะนำมาใช้ทำครอบฟันเซรามิกทั้งซี่ได้
โอกาสในการประกอบอาชีพ
- เจ้าหน้าที่เทคนิคด้านการผลิตในสถานประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรม
- เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในสถานประกอบการ หรือโรงงานอุตสาหกรรม
- นักพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์
- นักพัฒนาและปรับปรุงวัสดุ
- นักวิทยาศาสตร์ หรือผู้ช่วยวิจัยในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และในสถานศึกษาต่างๆ
- เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและให้คำปรึกษาทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุ และ/หรือสารเติมแต่งสำหรับวัสดุในบริษัทผู้ผลิต และ/หรือจัดจำหน่าย
- เจ้าหน้าที่ตรวจสอบวัสดุแบบไม่ทำลาย
- ผู้ประกอบการอิสระ
สถานประกอบการสหกิจศึกษา
สาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม
ติดต่อสาขาวิชา : โทร 0-2836-3000
Facebook : IMATSci
งานหลักสูตร ฝ่ายวิชาการและวิจัย โทร 0-2836-3000 ต่อ 4159
Facebook : SciRmutpFB
E-mail : infosci@rmutp.ac.th