หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย

แนะนำหลักสูตรจุดเด่นของหลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรหนังสือรับรองหลักสูตร และรับรองคุณวุฒิคุณสมบัติผู้สมัครอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรผลงานวิจัยค่าธรรมเนียมการศึกษาโอกาสในการประกอบอาชีพความร่วมมือกับสถาบันติดต่อสอบถาม

 

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย โดยมีการจัดการเรียนการสอนตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต  เปิดรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพด้านเทคโนโลยีสุขภาพ วิทยาศาสตร์เครื่องสำอางและการชะลอวัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล สร้างบัณฑิตให้เป็นนักวิจัย นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน เสริมสร้างความรู้ทางการตลาดสมัยใหม่และการเป็นผู้ประกอบการ

จุดเด่นหลักสูตร
” บุรณาการข้ามศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์ นักศึกษาเชี่ยวชาญผู้ประกอบการเริ่มต้น”

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา       
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
วิทยาเขต/คณะ             
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์พระนครเหนือ

รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : –
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology)

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology)

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 123 หน่วยกิต
ก.  หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
ก.1 กลุ่มวิชาภาษาไทย 3 หน่วยกิต
ก.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ 12 หน่วยกิต
ก.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 3 หน่วยกิต
ก.4 กลุ่มวิชาพลศึกษาและนันทนาการ 2 หน่วยกิต
ก.5 กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 6 หน่วยกิต
ก.6 กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต
ข.  หมวดวิชาเฉพาะ 87 หน่วยกิต
ข.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 19 หน่วยกิต
ข.2 กลุ่มวิชาชีพบังคับ 53 หน่วยกิต
ข.3 กลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต
ค.  หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ (19 หน่วยกิต)

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต
ST2091101 เคมีสำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Chemistry for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2091102 ฟิสิกส์สำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Physics for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2091103 ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์กายภาพ 1(0-3-1)
Laboratory of Physical Science
ST2091104 ศาสตร์แห่งสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 2(2-0-4)
Science of Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2091105 ชีววิทยาสำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Biology for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2091106 จุลชีววิทยาสำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Microbiology for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2091107 ชีวเคมีสำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Biochemistry for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2091108 ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ชีวภาพ 1(0-3-1)
Laboratory of Biological Science

กลุ่มวิชาชีพบังคับ (53 หน่วยกิต)

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต
ST2092101 กัญชาศาสตร์ 2(2-0-4)
Cannabis Science
ST2092202 วิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ 3(2-3-4)
Anti-Aging and Regenerative Science
ST2092203 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 3(2-3-4)
Human Anatomy and Physiology
ST2092204 เคมีวิเคราะห์สำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(2-3-4)
Analytical Chemistry for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2092205 ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติสำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 1 3(2-3-4)
Natural Products for Health, Cosmetic and Anti-Aging 1
ST2092206 เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์ 2(2-0-4)
Packaging Technology
ST2092207 โภชนศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพและการชะลอวัย 2(2-0-4)
Nutrition for Regenerative Health and Anti-Aging
ST2092208 นวัตกรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง 3(2-3-4)
Innovation for Health and Cosmetic Products
ST2092209 ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติสำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 2 3(2-3-4)
Natural Products for Health, Cosmetic and Anti-Aging 2
ST2092210 การพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(2-3-4)
Product Developments for Health, Cosmetic and Anti-Aging
ST2092211 กัญชาทางการแพทย์และเชิงพาณิชย์ 3(2-3-4)
Medicinal and Commercial Cannabis
ST2092312 การวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือ 3(2-3-4)
Instrumental Analysis
ST2092313 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขั้นต้น 3(2-3-4)
Product Developments for Basic Cosmetic
ST2092314 การประเมินความปลอดภัยสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง 3(2-3-4)
Safety Assessment for Health and Cosmetic Products
ST2092315 สัมมนาทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 1(0-2-1)
Seminar in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology
ST2092316 การเตรียมโครงงานวิจัยทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 2(1-2-3)
Pre-Research Project in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology
ST2092317 การเตรียมสหกิจศึกษา 1(0-2-1)
Pre-Cooperative Education
ST2092318 กฎหมายและจริยธรรมสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพและเครื่องสำอาง 2(2-0-4)
Law and Ethics for Health and Cosmetic Products
ST2092319 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 3(2-3-4)
Product Developments for Health
ST2092320 การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านสุขภาพและเครื่องสำอาง 2(2-0-4)
Entrepreneurship in Health and Cosmetic Business
ST2092321 โครงงานวิจัยทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(0-6-3)
Research Project in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology

 

กลุ่มวิชาชีพเลือก (15 หน่วยกิต)

รหัสวิชา ชื่อรายวิชา หน่วยกิต
ST2093401 สหกิจศึกษาทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 6(0-40-0)
Cooperative Education in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology
ในกรณีไม่สามารถลงทะเบียนวิชาสหกิจศึกษาทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยการจัดสหกิจศึกษาและการฝึกงานวิชาชีพ  พ.ศ. 2553 หรือมติของคณะกรรมการประจำหลักสูตร ให้ลงทะเบียนวิชาการฝึกงานทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
ST2093302 การฝึกงานทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(0-40-0)
Practicum in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology
ST2093303 สเปกโทรสโกปีสำหรับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ 3(2-3-4)
Spectroscopy for Natural Products
ST2093304 การประเมินทางประสาทสัมผัส 3(3-0-6)
Sensory Evaluation
ST2093305 พืชสำหรับอาหารเพื่อสุขภาพ ผลิตภัณฑ์สปาและเครื่องสำอาง 3(3-0-6)
Plants for Health Food, Spa Products and Cosmetic
ST2093306 เคมีของน้ำหอมและศาสตร์แห่งความหอม 3(2-3-4)
Perfumery Chemistry and Aromatic Science
ST2093307 ฉลากผลิตภัณฑ์และการออกแบบกราฟิก 3(2-3-4)
Product Labelling and Graphic Design
ST2093308 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางขั้นสูง 3(2-3-4)
Product Development for High-End Cosmetic
ST2093309 นวัตกรรมระบบนำส่งทางเครื่องสำอาง 3(3-0-6)
Innovation of Cosmetic Delivery System
ST2093310 การตลาดและการจัดการธุรกิจเครื่องสำอาง 3(3-0-6)
Marketing and Cosmetic Business Management
ST2093311 การจัดการบริการในธุรกิจเครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Service Management in Cosmetic and Anti-Aging Business
ST2093312 พฤกษบำบัดจากสมุนไพรไทย 3(3-0-6)
Thai Herbal Remedies
ST2093313 สมดุลธาตุของศาสตร์แพทย์แผนไทย 3(3-0-6)
Elements Balancing of Thai Traditional Medicine
ST2093314 เคมีกับความสุข 3(3-0-6)
Chemistry and Happiness
ST2093315 การดูแลผู้สูงอายุ 3(2-3-4)
Health Care for the Elderly
ST2093316 สปาไทย 3(2-3-4)
Thai Spa
ST2093317 พื้นฐานการนวดไทย 3(2-3-4)
Basic Thai Massage
ST2093318 การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม 3(2-3-4)
Holistic Health Care
ST2093319 การสร้างนวัตกรรมกัญชาแบบเร่งด่วน 3(2-3-4)
Cannabis Hackathon
ST2093320 โลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย 3(3-0-6)
Logistics and Supply Chain in Health, Cosmetic, and Anti-Aging Technology
ST2093321 ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจสำหรับ SMEs ด้านสุขภาพและเครื่องสำอาง 3(3-0-6)
Business English for SMEs in Health and Cosmetic
ST2093322 ทักษะดิจิทัลสำหรับนักวิทยาศาสตร์ 3(2-3-4)
Digital Skills for Scientist
ST2093323 หัวข้อพิเศษทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและชะลอวัย 1 3(3-0-6)
Special Topics in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology 1
ST2093324 หัวข้อพิเศษทางเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและชะลอวัย 2 3(3-0-6)
Special Topics in Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology 2

 

หมวดวิชาเลือกเสรี (6 หน่วยกิต)

เลือกศึกษาจากรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และต้องไม่เป็นรายวิชาที่ไม่นับหน่วยกิต หรือเลือกศึกษาจากมหาวิทยาลัยอื่นที่มีความร่วมมือ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจและความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร

  • อยู่ระหว่างดำเนินการ
คุณสมบัติผู้สมัคร

  • สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือต้องศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ โดยเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมรวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประเภทวิชาคหกรรม สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาธุรกิจคหกรรม หรือประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หรือประเภทวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ หรือประเภทวิชาอุตสาหกรรม
  • สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาทุกสาขาวิชา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกประเภทวิชา หรือสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ศึกษาโดยการเทียบโอนผลการเรียน
  • มีคุณสมบัติอื่น ๆ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2560 หรือให้เป็นไปตามดุลยพินิจของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร สาขาวิชาสถิติสารสนเทศ

ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช
- Ph.D. (Chemistry) Imperial College London, UK
- วท.ม. (เคมี, เคมีวิเคราะห์และเคมีอนินทรีย์ประยุกต์) มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.บ. (เคมี) มหาวิทยาลัยบูรพา
ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ
- วท.ด. (เคมีวิเคราะห์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วท.ม. (เคมีวิเคราะห์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- วท.บ. (เคมี) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
อ.ดร.อำนาจ ชินพงษ์พานิช
- วท.ด. (ชีวเคมีและชีววิทยาโมเลกุล) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วท.ม. (ชีวเคมี) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วท.บ. (ชีวเคมี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
อ.ดร.ศุภชัย หิรัญศุภโชติ
- วศ.ด. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- M.Sc. (Waste Management and Contaminated Site Treatment) Techinsiche Universitat Dresden, Germany
- วศ.บ. (วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- น.บ. (นิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อ.ดร.ไพศาล การถาง
- ปร.ด. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.ม. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยมหิดล
- วท.บ. (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลงานวิจัย : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใบขลู่แห้งชงดื่ม ที่ได้ผ่านเกณฑ์มาตรบาน มผช. รายแรกในประเทศไทย
นักวิจัย : ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ อ.อัญชนา ขัตติยะวงศ์ และคณะวิจัย มทร.พระนคร

นักวิจัยสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยหัวหน้าโครงการคือ ผศ.ดร.สิริรัตน์  พานิช  และผู้ร่วมโครงการ ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ และ อ.อัญชนา ขัตติยะวงศ์  คณะวิจัยได้ศึกษาพัฒนากระบวนการล้างใบขลู่เพื่อลดปริมาณสารพิษ สำหรับควบคุมคุณภาพการผลิตสมุนไพรใบขลู่อบแห้งสำหรับชงดื่มให้วิสาหกิจชุมชนลุงแกละชาใบขลู่ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร ภายใต้โครงการพัฒนาและยกระดับสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ประจำปี 2563

ลุงแกละชาใบขลู่และวิสาหกิจชุมชนบ้านสันดาป ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2559 โดยเกิดจากการรวมตัวกันของชุมชนบ้านตำบลพันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมชาวบ้านมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจากการนำพืชสมุนไพรที่ขึ้นได้เองและมีจำนวนมากในท้องถิ่น ใบขลู่เป็นพืชสมุนไพรที่มีสารสำคัญหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีงานวิจัยเกี่ยวกับสมบัติทางเภสัชวิทยาของใบขลู่ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ลดความดัน ลดการกักเสบ เป็นต้น ทั้งนี้ ตามตำรายาศาสตร์แผนไทยนำใบขลู่มาใช้รักษาอาการขัดเบา ขับปัสสาวะ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนลุงแกละ ยังไม่ได้รับการรับรองเป็นผลิตภัณฑ์โอทอประดับ 5 ดาว  เนื่องจากด้านโรงเรือนสถานที่ และกระบวนการอบแห้ง เพราะตรวจพบเชื้อราและยีสต์เกินระดับมาตรฐานที่กำหนด

คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครได้ดำเนินการศึกษาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อแสวงหาวิธีการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพ โดยขั้นตอนวิจัยระยะที่ 1 เป็นการศึกษากระบวนการล้างใบขลู่เพื่อลดปริมาณสารพิษ และจุลชีพต่าง ๆ  ได้แก่
1) การวิเคราะห์สมบัติเคมี กายภาพและจุลชีพของใบขลู่  (ความชื้น ยีสต์ รา และโลหะหนัก)
2) การยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานมากกว่า 4 เดือน
3) การศึกษาข้อมูลทางประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ซึ่งเป็นการประเมินความพึงพอใจต่อคุณลักษณะที่มีต่อผลิตภัณฑ์ เช่น สี กลิ่น รสชาติ สรรพคุณ และอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป

ผลการทดสอบและการวิเคราะห์สมบัติทางเภสัชวิทยาในใบขลู่แห้งชงดื่ม (น้ำ) พบสารสำคัญเช่น แทนนิน คาเทชิน เคอซิติน กรดแลกติก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ รสชาติมีความหอม อร่อย สีสันตามธรรมชาติ สร้างความมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ใบขลู่แห้งชงดื่มได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) รายแรกและเพียงรายเดียวในประเทศไทย สามารถสร้างรายได้ให้กลุ่มเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยมียอดขายเพิ่มจากเดิมประมาณ 10 %

ผลงานวิจัย : โฟมล้างหน้าจากไฮโดรโซลขลู่
นักวิจัย :  ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช อ.อัญชนา ขัตติยะวงศ์ และคณะวิจัย มทร.พระนคร

นักวิจัยสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร โดยหัวหน้าโครงการคือ ผศ.ดร.วรวิทย์ จันทร์สุวรรณ และผู้ร่วมโครงการ ผศ.ดร.สิริรัตน์  พานิช และ อ.อัญชนา ขัตติยะวงศ์ ดำเนินการศึกษาองค์ประกอบทางพฤกษเคมีของน้ำสกัดน้ำมันหอมระเหย (หรือเรียกว่า ไฮโดรโซล) จากใบขลู่ สมบัติการออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา เพื่อนําไปใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางประเภทโฟมล้างหน้าสำหรับลดการอักเสบผิวหนัง ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

ขลู่ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Pluchea indica (L.) Less.) เพื่อเป็นพืชสมุนไพรมีกันแพร่หลายในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เป็นต้น ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มีการแบ่งสรรพคุณของขลู่ทั้ง 5 ส่วน คือ ใบ ราก ลำต้น ดอก และผล มาใช้เป็นสมุนไพรมีสรรพคุณทางยาในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ และลดอาการบวม ประโยชน์และสรรพคุณของขลู่มีจำนวนมาก โดยสามารถพิจารณาจากส่วนของพืชแต่ละส่วน (disthai.com) ใบขลู่นิยมนำมารับประทานกับน้ำพริก หรือนํามาเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในการทําอาหาร หรือใช้เป็นยารักษาโรค จากสรรพคุณที่ช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ช่วยบํารุงไต ขับปัสสาวะ บํารุงระบบประสาท ในตํารายา ไทยใช้ทั้งต้นต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ แก้เบาหวาน ต้มน้ำอาบแก้ผื่นคัน น้ำคั้นใบสดรักษาริดสีดวงทวาร ใบแห้งจะมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นน้ำผึ้ง นำมาใช้ต้มกับน้ำดื่มหรือชงแทนชาจะช่วยลดน้ำหนักได้ ใบสดแก่นำมาตำผสมกับเกลือใช้กินรักษากลิ่นปากและช่วยระงับกลิ่นตัว

ไฮโดรโซล” (Hydrosol) หรือ น้ำสกัดน้ำมันหอมระเหย คือ สารสกัดในชั้นน้ำที่ได้จากการสกัดด้วยไอน้ำ โดยปกติการสกัดจะได้ผลิตภัณฑ์ออกมาเป็น 2 ส่วน คือส่วนที่ไม่ละลายน้ำ (น้ำมันหอมระเหย)  และสารสกัดชั้นน้ำ (ไฮโดรโซล) โดยชั้นน้ำนี้จะเรียกว่า น้ำสกัดกลิ่นดอกไม้ (floral water) เนื่องจากเป็นวิธีที่นิยมนำมาสกัดดอกไม้ การสกัดน้ำมันหอมระเหยนิยมใช้วิธีกลั่นด้วยไอน้ำ ซึ่งเป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย สำหรับแยกสารที่ระเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านเวชสำอางเป็นการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของเครื่องสำอางสมุนไพรพื้นบ้านของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี โดยปัจจุบันได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์โฟมล้างหน้า ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัทกีรติ จำกัด ติดต่อสอบถาม ได้ที่ https://www.facebook.com/giratiTH คุณธัญญรัตน์ ตั้วเจริญ โทร 0924654987 อีเมล ttuajaroen@gmail.com

ผลงานวิจัย : เนยถั่วดาวอินคา เพิ่มศักยภาพวงการอาหารที่แปลกใหม่ ปราศจากสารปรุงแต่ง ชะลอการแก่ก่อนวัย
นักวิจัย :  ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช

การวิจัยเนยถั่วดาวอินคาที่ผ่านกระบวนการพัฒนาแล้ว มีปริมาณไขมัน 52.14%  คาร์โบไฮเดรต 13.8% และมีโปรตีนสูงถึง 27.79%  มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายที่ครบถ้วน โดยมีกรดลิวซีน (leucine) สูงที่สุด ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เช่น กระดูก ผิวหนัง และกล้ามเนื้อ  รองลงมาคือทรีโอนีน (threonine) ที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารในร่างกายและยังช่วยส่งเสริมการดูดซึมอาหาร รวมไปถึงกรดฮิสทิดีน (histidine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นในเด็ก  ชนิดของกรดไขมันอิ่มตัวในเนยถั่วดาวอินคา มีกรดปาล์มิติก (palmitic) กรดสเตียริก (stearic) และปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว พบว่ามี กรดลิโนเลนิกอัลฟา (alpha-linolenic) ที่เสริมการเจริญเติบโตของเด็กสูงที่สุดถึง 2.48 กรัม/100 กรัม รองลงมาคือ กรดไลโนเลอิก (Linoleic) 23.41 กรัม/100 กรัม และกรดโอเลอิก (oleic) 5.53 กรัม/100 กรัม ด้านแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ประกอบไปด้วยโพแทสเซียม แมงกานีส แคลเซียมที่มีประโยชน์ต่อกระดูกและฟัน นอกจากนี้ยังพบสังกะสี เหล็ก และซิลีเนียม ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ผลงานวิจัย : เนมจากถั่วดาวอินคา สำหรับผู้แพ้นมวัว
นักวิจัย :  ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช

การศึกษาคุณสมบัติทางเคมี คุณสมบัติทางกายภาพ คุณสมบัติทางจุลชีววิทยาของนมถั่วดาวอินคาหลังจากการสกัดน้ำมัน  ว่าได้วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ 1 หน่วยบริโภค 180 มิลลิลิตร ได้รับพลังงานทั้งสิ้น 110 กิโลแคลอรี ในขณะที่ปริมาณวิตามินและแร่ธาตุประกอบด้วย วิตามินบีหนึ่ง 2% แคลเซียม 4% และเหล็ก 4%  ส่วนด้านการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสของอาหารโดยเปรียบเทียบกับนมอัลมอนด์ พบว่านมจากถั่วดาวอินคามีกลิ่นและรสถั่วรุนแรงกว่า แต่เนื่องด้วยผลวิจัยด้านคุณค่าทางอาหารสูง โปรตีนสูง มีไขมันดีที่มีประโยชน์ และมีโอเมกา 3 6 9 รวมถึงไม่มีไขมันทรานส์และคอเลสเตอรอล จึงทำให้สามารถดึงดูดและชักจูงผู้บริโภค  โดยสามารถแต่งกลิ่นและรส ซึ่งผู้ผลิตต้องนำไปพัฒนารสชาติของนมให้ถูกปากผู้บริโภคต่อไป  “นับว่าถั่วดาวอินคา มีศักยภาพที่ดีในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์นมทดแทนนมวัว ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี”

ผลงานวิจัย : ผลิตภัณฑ์แผ่นมาส์กหน้าใยไหม
นักวิจัย :  ผศ.ดร.สิริรัตน์ พานิช

ผลิตภัณฑ์แผ่นมาส์กหน้าใยไหมเป็นผลงานวิจัยต่อยอดจากงานวิจัยที่ผ่านมาภายใต้โครงการ Thai-fruit-Functional fruit ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว)  โดยโครงการ Thai-fruit-Functional fruit ได้ทดสอบความสามารถการต้านอนุมูลอิสระของผลไม้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจำนวน 19 ชนิด และผลไม้จากต่างประเทศจำนวน 3 ชนิด จากงานดังกล่าวพบว่าผลไม้ไทย 3 ชนิด คือ หมากเม่า สมอ และมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าผลไม้จากต่างประเทศ ซึ่งเป็นที่นิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จากผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลไม้ไทยด้วยกันแล้วมะขามป้อมมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงสุด มีปริมาณวิตามินซีสูงมาก และสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ อีกถึง 6 ชนิด ได้แก่ Qeraninn, Quercetin 3-B-d-Glucopyranoide, Kaempferol 3-B-D- Glucopyranoide, Isocarilagin, Quercetin และ Kaempferol ซึ่งสารเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ส่งผลให้ช่วยชะลอและป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดด หมอกควันพิษ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายผิวหนัง ผิวหนังเกิดรอยเหี่ยวย่นและริ้วรอย  นอกจากนี้อนุมูลอิสระยังเป็นตัวกระตุ้นให้คอลลาเจนใต้ผิวหนังสลายเร็วขึ้น ส่งผลให้ผิวแห้งและหมองคล้ำ ดังนั้น เซรั่มที่มีส่วนผสมที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจะช่วยลดริ้วรอยที่เกิดจากแสงแดดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้มะขามป้อม ราคาถูก หาง่ายและมีทุกฤดูกาล จึงเหมาะในการนำมาทำส่วนผสมในเครื่องสำอาง

ค่าบำรุงการศึกษา ค่าลงทะเบียน และค่าสนับสนุนการจัดการศึกษา “แบบแหมาจ่าย”
รายภาคการศึกษา

ภาคการศึกษา (ปกติ)    13,000 บาท

โอกาสในการประกอบอาชีพ

  • ผู้ช่วยนักวิจัย นักวิจัยและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยีสุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง บุคลากรฝ่ายผลิตและฝ่ายควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  • ผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  • ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย และผู้ผลิตและแปรรูปสารผลิตภัณฑ์ธรรมชาติและสมุนไพร
  • ผู้แทนฝ่ายขาย ตัวแทนจำหน่าย หรือผู้เชี่ยวชาญในบริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกสินค้าและวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและการชะลอวัย
  • อาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความร่วมมือกับหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง โดยการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน

บริษัท ชนะภูมิ จำกัด กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย

ติดต่อสาขาวิชา : โทร 0-2836-3000
Facebook : สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย
งานหลักสูตร ฝ่ายวิชาการและวิจัย โทร 0-2836-3000 ต่อ 4159
Facebook : SciRmutpFB
E-mail : infosci.rmutp@rmutp.ac.th

Loading