ประวัติ/วิสัยทัศน์

ประวัติความเป็นมาวิสัยทัศน์ (Vision)พันธกิจ (Mission)เป้าหมาย (Goal)ค่านิยมหลัก (Core Value)เอกลักษณ์ (Identity)

11312821_861855777182872_2047152641528830517_o

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ.2548 โดยเป็นการรวมสถาบันการศึกษาเดิมของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลจำนวน 5 วิทยาเขต ประกอบด้วย วิทยาเขตเทเวศร์ วิทยาเขตโชติเวช วิทยาเขตพณิชยการพระนคร วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ และวิทยาเขตพระนครเหนือ ปัจจุบันแยกเป็นศูนย์เพื่อจัดการเรียนการสอนเป็น 4 ศูนย์ คือ ศูนย์เทเวศร์ ศูนย์โชติเวช ศูนย์พณิชยการพระนคร และศูนย์พระนครเหนือ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดตั้งตามกฎกระทรวง การจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2549 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2549 ซึ่งเป็นคณะที่ทำการเรียนการสอน ผลิตบัณฑิตและการทำวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคณะฯ มีที่ตั้งอยู่ที่ ศูนย์พระนครเหนือ ในปี พ.ศ.2550 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เริ่มมีการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์) และสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม) ในปี พ.ศ. 2557  ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต อีก 1 คือ หลักสูตรสาขาวิชาวัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม ในปี พ.ศ.2562 ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ  และในปี พ.ศ.2566 ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต อีก 2 หลักสูตร คือ หลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอางและการชะลอวัย และหลักสูตร สาขาวิชาสถิติสารสนเทศ ปัจจุบันคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 6 หลักสูตร ได้แก่

  1. วิทยาการคอมพิวเตอร์  (B.Sc. Computer Science)
  2. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม  (B.Sc. Environmental Science and Technology)
  3. วัสดุศาสตร์อุตสาหกรรม B.Sc. (Industrial Materials Science)
  4. วิทยาการข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ  (B.Sc. Data Science & Information Technology)
  5. เทคโนโลยีสุขภาพเครื่องสำอางและการชะลอวัย (B.Sc. Health, Cosmetic and Anti-Aging Technology)
  6. สถิติสารสนเทศ (B.Sc. Information Statistics)

ทำเนียบคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

รายนามคณบดี   

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เพ็ญนภา สุวรรณบำรุง
Asst.Prof.Pennapa Suwanbamrung, Dean
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง: 26 ม.ค. 2567 – จนถึงปัจจุบัน

ดร.จิระศักดิ์  ธาระจักร์
Dr.Jirasak Tharajak, Dean
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง: 26 ม.ค. 2563 – 26 ม.ค. 2567

ดร.ไพศาล การถาง
Dr.Paisan Kanthang, Dean
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 26 ม.ค. 2559 – 25 ม.ค. 2563

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมรา อมรแก้ว
Asst.Prof.Dr.Amara Amornkaew, Dean
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 26 ม.ค. 2555 – 25 ม.ค. 2559

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประเทืองทิพย์ โรจนวิภาต (รักษาการแทนคณบดี)
Asst.Prof.Pratungtip Rojanavipat, Acting Dean
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 3 ต.ค. 2554 – 25 ม.ค. 2555

ว่าที่ร้อยตรีวิชัย โกศัลวัฒน์
Mr.Wichai Kosanwat, Dean
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 2 ก.พ. 2554 – 2 ต.ค. 2554

นางสุรพร กิตติสารวัณโณ
Mrs.Suraporn Kittisarawanno, Dean
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง: 2 ก.พ. 2550 – 1 ก.พ. 2554                                                                                                                                                                                                                           

ปัจจุบันกระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษาของสถาบันการศึกษาไม่อาจเพียงมุ่งเน้นในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพตามหลักสูตร แต่ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดให้เป็นบัณฑิตที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต สามารถแสวงหาองค์ความรู้และนำไปใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมและอย่างเป็นระบบบนฐานข้อมูลอันมหาศาล (Big data) ในอนาคต นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริบททางสังคมสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) และการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เป็นเสมือนภาพสะท้อนให้เห็นองคาพยพกำลังเปลี่ยนไปทิศทางใด ไม่เว้นแม้สถาบันการศึกษาที่ต้องปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ นโยบาย กลยุทธ์ ในการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองกับความต้องการของภาคส่วนต่างๆ อย่างเต็มกำลังความสามารถ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเล็งเห็นความสำคัญต่อการจัดการเรียนสอนในยุคปัจจจุบันที่ต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมและอุตสาหกรรม จึงกำหนดเป็นนโยบายการศึกษา 4.0 (Education 4.0)

  1. พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนบนฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี (STEM)
  2. พัฒนางานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมบนฐานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
  3. บริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือ (Collaboration)

ปัจจุบันสำนักงานและการจัดการเรียนการสอนของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ที่ อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เดิมเป็นอาคารอาคารอนุสรณ์ 40 ปี ) ในปี 2558 ได้เริ่มมีการปรับปรุงโครงสร้างอาคารทั้งภายในและภายนอกให้ทันสมัย มีการปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และห้องบรรยายเพื่อรองรับการพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษายุคดิจิทัล (Digital education) ตลอดจนมีการตั้ง ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และบริการ (Scientific Instrument and Service Center : SISC) เพื่อเป็นแหล่งให้บริการทดสอบ วิเคราะห์ตัวอย่างให้บริการสังคม สำหรับนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัยทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยเฉพาะการบริการวิจัยและทดสอบให้กับภาคอุตสาหกรรม

B03bb1

 

 

 

 

 

25-landscape-plan-revise



ปรับปรุงข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2559

วิสัยทัศน์ (Vision)
“พัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสุขภาพ ดิจิทัล และนวัตกรรมสีเขียว”

ปรัชญา

“สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี สร้างคนดีสู่โลกอาชีพ”

ปณิธาน

“เป็นผู้นำการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพ คู่คุณธรรม สู่สากล”

พันธกิจ (Mission)

1. ผลิตและพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติคุณภาพบนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ได้มาตรฐานวิชาชีพ
2. สร้าง พัฒนา และบูรณาการงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์ เพื่อผลิตนวัตกรรม รองรับการพัฒนาประเทศ
3. บริการวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เพิ่มขีดความสามารถและสร้างมูลค่าเพิ่ม
4. อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. บริหารจัดการองค์กรด้วยหลักธรรมาภิบาล

เป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal)

“มุ่งมั่นเป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำแห่งโลกอาชีพบนฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสากล”

(SC-RMUTP  strives to be a leading  faculty for diverse career  while  is  ST based internationally.)

ค่านิยมหลัก (Core Value) = SCXSMART

core value

สมรรถนะหลัก (Core Competency)
“การจัดการศึกษาเพื่อการผลิตบัณฑิตและงานวิจัยบนฐานคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี”
เอกลักษณ์ (Uniqueness)

“เชี่ยวชาญคอม รักษ์สิ่งแวดล้อม เข้าใจวัสดุ”
An innovative and Technological University for the Land”

อัตลักษณ์ (Identity)

บัณฑิตนักปฏิบัติ ใฝ่รู้ สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี มีคุณธรรม
Hands-on, Keenness, Determination, Technological Expertise, Integrity

บัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands–on) หมายถึง บัณฑิตที่ได้รับการฝึกฝนให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะทางวิชาชีพเฉพาะทางอย่างรอบด้าน สามารถใช้ความรู้ทางวิชาการและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติ สร้างสรรค์ผลงานมีความรับผิดชอบ มีความพยายามในการแก้ปัญหาและมีการปรับปรุงตนเองให้มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

  • ใฝ่รู้  หมายถึง บัณฑิตที่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ
  • สู้งาน  หมายถึง บัณฑิตที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ขยันหมั่นเพียรอดทน ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
  • เชี่ยวชาญเทคโนโลยี  หมายถึง บัณฑิตที่สามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  • มีคุณธรรม  หมายถึง บัณฑิตที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต