งานสหกิจศึกษา

<strong>หน้าหลัก</strong><strong>คุณสมบัติงานสหกิจศึกษา</strong><strong>ระเบียบ/ข้อบังคับ/คู่มือสหกิจ</strong><strong>ทำเนียบสถานประกอบการ</strong><strong>Download</strong><strong>ข่าวสาร</strong><strong>ติดต่อ</strong>

เกี่ยวกับสหกิจศึกษา
สหศึกษาคืออะไร  : สหกิจศึกษา (Cooperative Education)  เป็นการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการอย่างมีระบบ  โดยจัดให้มีการเรียนในมหาวิทยาลัยร่วมกับการจัดให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานจริง ณ สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมืออย่างมีหลักการและเป็นระบบ  ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างความเข้าใจและเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน  สามารถพัฒนาทักษะทางวิชาชีพเพื่อให้มีคุณภาพตรงตามที่สถานประกอบการต้องการมากที่สุด  โดยมีสหกิจศึกษาเป็นกลไกความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมระหว่างสถานประกอบการและมหาวิทยาลัย  และยังก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน  นักศึกษาสหกิจศึกษาจะเข้าปฏิบัติงานแบบเต็มเวลาอย่างต่อเนื่องเสมือนหนึ่งเป็นพนักงานชั่วคราวในสถานประกอบการเป็นระยะเวลา 1 ภาคการศึกษา  และได้รับประสบการณ์จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง  ซึ่งนักศึกษาไม่สามารถเรียนรู้ได้ในห้องเรียนปกติ  นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาทักษะของงานอาชีพที่ผสมผสานระหว่างภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติได้อย่างลงตัว  อันจะส่งผลให้นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น  และกระบวนการสหกิจศึกษาจะก่อให้เกิดการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับสถานประกอบการ  ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาหลักสูตรได้ตลอดเวลา ส่วนสถานประกอบการจะได้บัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการต่าง ๆ

วัตถุประสงค์

  1. เตรียมความพร้อมนักศึกษาในด้านการพัฒนาอาชีพ ทักษะ และประสบการณ์ก่อนเข้าสู่ ระบบการทํางานจริง
  2. เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ วิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษา ในรูปแบบ ที่มีคุณค่าเหนือกว่าการฝากงาน สหกิจศึกษา : บูรณาการการทํางานกับการเรียน พัฒนาอาชีพ และ สร้างความพร้อมในการทํางาน สถานศึกษา สหกิจศึกษา สถานประกอบการ พัฒนาคุณภาพบัณฑิต ตามมาตรฐานวิชาการวิชาชีพ ตรงตามความต้องการตลาดแรงงาน
  3. เปิดโอกาสให้สถานประกอบการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนา คุณภาพบัณฑิต
  4. เพื่อทําให้เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐาน และตรงตาม ความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น
  5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง สถานประกอบการและสถาบันอุดมศึกษาผ่านนักศึกษาสหกิจ ศึกษาและคณาจารย์นิเทศ อันจะนําไปสู่ความร่วมมือที่กว้างขวางมากขึ้น

ความสําคัญของสหกิจศึกษา 

ปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาในประเทศต่าง ๆทั่วโลกใช้สหกิจศึกษาเป็นแนวทางในจัด การศึกษาระดับปริญญาตรี เพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาวิชาชีพ โดยมีเป้าประสงค์ตรงกัน คือ การ เสริมคุณภาพบัณฑิต ตามมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพรวมทั้ง ให้ตรงกับ ความต้องการของ ตลาดแรงงานซึ่งเป็นส่วนสําคัญในการเตรียมบัณฑิตให้พร้อมที่จะเลือกอาชีพและเข้าสู่ระบบการทํางานทันที ที่จบการศึกษาทําให้บัณฑิตสหกิจศึกษา “รู้จักตน รู้จักคน รู้จักงาน”

ประโยชน์สหกิจศึกษา 

  •  ด้านนักศึกษา 
  1. ได้รับประสบการณ์วิชาชีพตรงตามสาขาวิชาเอก ซึ่งเป้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานจริงหลังสําเร็จการศึกษา
  2. มีผลการเรียนในสถานศึกษาหลังจากปฏิบัติงานสหกิจศึกษาดีขึ้น
  3. พัฒนาความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน ภายใต้การดูแลของหัวหน้างานจริง
  4. พัฒนาความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมอื่น นอกเหนือจากสังคมนักศึกษา
  5. เกิดการพัฒนาตนเอง มั่นใจในตนเองมากขึ้น
  6. เกิดทักษะการสื่อสารรายงานข้อมูล
  7. ค้นพบศักยภาพของตนเองในการเลือกสายงานอาชีพได้ถูกต้อง
  8. มีโอกาสได้รับการเสนองานก่อนสําเร็จการศึกษา
  9. เป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทํางานสูง
  • ด้านสถาบันอุดมศึกษา 
  1. เกิดความร่วมมือทางวิชาการกับสถานประกอบการ มีโอกาสในการพัฒนาความรู้นอก ห้องเรียนและโจทย์การวิจัย โดยผ่านทางนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา
  2. ทราบแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหาวิชาในหลักสูตรและคุณภาพบัณฑิต ให้สอดคล้อง ต่อความต้องการของสถานประกอบการ
  3. เปิดวิสัยทัศน์ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องต่อความต้องการของสถานประกอบการ
  4. สถาบันอุดมศึกษาได้รับการยอมรับจากสถานประกอบการ
  5. ภาพพจน์ที่ดีในการให้โอกาสนักศึกษาปฏิบัติงานจริงในขณะที่ศึกษาอยู่

คุณสมบัติสำหรับนักศึกษาสหกิจ

  1. มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่อยู่ในระหว่างการถูกทำโทษทางวินัย
  2. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ และสามารถพัฒนาตนเองได้
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่  2.00  ขึ้นไป
  4. สอบผ่านรายวิชาที่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนของรายวิชาสหกิจศึกษาในหลักสูตร
  5. ผ่านการอบรมเพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนปฏิบัติงานตามที่ได้กำหนดไว้ในเงื่อนไขก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา มีระยะเวลาการอบรมไม่ต่ำกว่า  ร้อยละ  80
  6. ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน  วิธีการดำเนินการของงานสหกิจศึกษา โดยยึดปฏิทินรายวิชาสหกิจศึกษาเป็นหลัก

คุณสมบัติสำหรับอาจารย์นิเทศงานสหกิจศึกษา

  1. คณาจารย์นิเทศต้องมีประสบการณ์การสอนไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา และผ่านการอบรมการนิเทศงานโดยหน่วยงาน ที่ได้รับการรับรองจาก สกอ.
  2. คณาจารย์นิเทศต้องเป็นคณาจารย์ประจำสาขาวิชาที่นักศึกษาสังกัดอยู่เท่านั้น

หน้าที่อาจารย์นิเทศ

  1. คณาจารย์นิเทศต้องนัดหมายสถานประกอบการเพื่อเข้ามานิเทศนักศึกษา ณ สถานประกอบการ ก่อนล่วงหน้า 7 วัน
  2. คณาจารย์นิเทศต้องจัดทำแผนการนิเทศนักศึกษา
  3. คณาจารย์ดำเนินการนิเทศซึ่งจะต้องปฏิบัติดังนี้
    3.1 ในการนิเทศงานต้องจัดให้มีการประชุม ระหว่างพนักงานพี่เลี้ยงกับคณาจารย์นิเทศ และ นักศึกษากับคณาจารย์นิเทศ และประชุมร่วมกันทั้งสามฝ่าย
    3.2 ต้องใช้เวลาในการนิเทศไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมงต่อการนิเทศงานหนึ่งครั้ง
    3.3 รายงานผลการนิเทศต่ออาจารย์ผู้ประสานงานสหกิจศึกษาประจำสาขาวิชา หลังการนิเทศ 1 สัปดาห์
  4. คณาจารย์นิเทศต้องติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษา ประเมินผล และให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษาตามความจำเป็นของสาขาวิชา
  5. คณาจารย์นิเทศควรตรวจรูปแบบการนำเสนอผลงาน และให้ข้อเสนอแนะแก่นักศึกษา
  6. ในช่วงระยะกึ่งกลางของสหกิจศึกาา คณาจารย์นิเทศควรรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานหรืองานที่ปฎิบัติของนักศึกษาร่วมกับพนักงานพี่เลี้ยงและให้ข้อเสนอแนะ
  7. ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของสหกิจศึกษา คณาจารย์นิเทศควรเข้ารับฟังการนำเสนอผลการปฎิบัติงานของนักศึกษาร่วมกับผู้ นิเทศและผู้บริหารองค์กรและประเมินผลงานพร้อมให้ข้อเสนอแนะ

แบบฟอร์มนักศึกษา
กิจกรรมก่อนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

กิจกรรมหลังจากได้รับการตอบรับจากสถานประกอบการ

กิจกรรมระหว่างปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

กิจกรรมหลังปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

แบบฟอร์มสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา

แบบฟอร์มสหกิจศึกษา (ภาษาอังกฤษ)

แบบฟอร์มสำหรับสถานประกอบการ

งานสหกิจศึกษา ฝ่ายวิชาการและวิจัย
คุณศุภานัน ปิ่นเจริญ  (หัวหน้างานสหกิจศึกษา)
โทร.02-836-3000 ต่อ 4156  E-mail: suphanun.p@rmutp.ac.th

Loading